AOT Watch       Measurment  

ข้อมูลดาวเทียม

การติดตามฝุ่นละอองในบรรยากาศที่ความยาวคลื่น 550 นาโนเมตร (AOT550) จากดาวเทียม Terra/MODIS ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 462 แขวง/ตำบล ระหว่างปี ค.ศ.2018-2022 พบว่ามีค่าสูงในระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน และค่าต่ำในระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม (สอดคล้องในทางกลับกันกับแนวโน้มของปริมาณน้ำฝน) โดยหากสรุปภาพรวมตลอดระยะเวลา 5 ปี พบว่ามีค่าเท่ากับ 0.45 ส่วนค่าเฉลี่ยรายเดือน AOT550 แสดงได้ในตารางต่อไปนี้

การเปลี่ยนแปลง

โดยทั่วไปการเปลี่ยนแปลงรายปีของปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศ เทียบกับปริมาณฝน มักมีทิศทางตรงกันข้าม โดยเฉพาะปี 2019 ที่มีการลดลงของฝน 45% ขณะที่ฝุ่นละอองในบรรยากาศเพิ่มขึ้น 9% และในปี 2020 ปริมาณฝนเพิ่มขึ้น 54% ขณะที่ฝุ่นละอองในบรรยากาศลดลง 20%

กรณีปี 2021-2022 แม้ว่าปริมาณฝนเพิ่มขึ้น ก็ยังพบว่าปริมาณฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น 3% และ 12% ตามลำดับ สิ่งนี้อาจแสดงความหมายของฝุ่นละอองที่ส่วนมากอยู่ในชั้นบรรยากาศที่สูงกว่าระดับที่ฝนสามารถชะล้างได้ หรือฝุ่นละอองอาจหมุนเวียนจากที่ห่างไกลและมีอิทธิพลมากกว่าฝนในระดับพื้นที่ขนาดเล็ก หรือฝนตกเป็นปริมาณน้อยในเดือนที่มีปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศมาก เช่น เดือนเมษายน 2022

ความเร็วลม

ข้อสังเกตเกี่ยวกับความเร็วลมกับฝุ่นละอองในบรรยากาศ พบว่าในกรอบเวลา "เดือน" มีความสัมพันธ์กันน้อยมากและอาจไม่ใช่ปัจจัยบวกแท้จริงต่อการลดฝุ่นละอองในบรรยากาศ โดยจะเห็นได้จากค่าสูงสุดของสองตัวแปรเกิดขึ้นในเดือนเมษายนเหมือนกัน

อย่างไรก็ตามลมเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญต่อ PM2.5 ในกรอบเวลา "ระหว่างวัน-สัปดาห์" เนื่องจากลมมักเป็นผลลัพธ์ ที่เกิดจากการยกระดับของเพดานชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นโลก (PBL) และการลอยตัวขึ้นของอากาศในแนวดิ่ง ซึ่งตัวแปรหลังนี้ ก็เป็นผลลัพธ์ต่อจากพลังงานของอากาศที่ได้รับจากแสงอาทิตย์ของแต่ละรอบวัน


 


แผนที่ AOT รายเดือน ปี 2018-2022

 

2022 Jan Feb Mar Apr May Jun
July
Aug
Sep
Oct
Nov
Dec
   
2021 Jan Feb Mar Apr May Jun
July
Aug
Sep
Oct
Nov
Dec
 
2020 Jan Feb Mar Apr May Jun
July
Aug
Sep
Oct
Nov
Dec
 
2019 Jan Feb Mar Apr May Jun
July
Aug
Sep
Oct
Nov
Dec
 
2018 Jan Feb Mar Apr May Jun
July
Aug
Sep
Oct
Nov
Dec
 

Visualization by TMD. Dataset Credits of NASA/NEO