*** โปรดทราบ ***

Fine PM Map (แผนที่อนุภาคขนาดเล็ก) สามารถแสดงภาพรวมเชิงพื้นที่ของอนุภาคของแข็งหรือของเหลวขนาดเล็ก/ละเอียด ซึ่งรวมทั้งอนุภาคในพายุหมุนอีกด้วย

แผนที่นี้จะถูกพิจารณาปรับออกจากหน้าเว็บไซต์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เนื่องจากข้อจำกัดของข้อมูลบางประการ

หากผู้ใช้เห็นว่ายังมีประโยชน์ในทางใดๆ ขอให้แสดงความคิดเห็นกลับไปยังทีมงานของผู้จัดทำ ผ่านทาง email: ozone.tmd@gmail.com

*******

PM2.5 ธ.ค. 64

PM2.5 มี.ค. 64

PM2.5 ก.พ. 64

PM2.5 ม.ค. 64

PM2.5 ธ.ค. 63

PM2.5 มี.ค. 63

PM2.5 กพ. 63

PM2.5 มค. 63

ปัจจัยพื้นฐาน

ความกดอากาศที่มีกำลังแรงมักทำให้เกิดลมแรง ซึ่งฝุ่นละอองสามารถระบายได้ดีหากแต่ช่วงที่มีกำลังอ่อนลงมักจะทำให้มวลอากาศนิ่ง และเกิดปรากฏการณ์อากาศปิด (อินเวอร์ชั่น) ซึ่งอากาศไม่สามารถลอยตัวขึ้นในแนวดิ่งได้ตามปกติ และสามารถสังเกตเห็นได้ถึงสภาวะลมสงบหรือลมอ่อน ปัจจัยเช่นนี้ ทำให้ฝุ่นละอองที่่อยู่ในอากาศไม่สามารถระบายได้ และเกิดการสะสมในอากาศได้หลายวัน-หลายสัปดาห์ หรือนานกว่า (หากไม่มีฝนชะล้างออกไป) ในกรณีที่เกิดมีชั้นอินเวอร์ชั่นที่ความสูงระดับต่ำใกล้พื้นดิน หรือเพดานการลอยตัว ของอากาศต่ำลงจะทำให้ค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น (อัตราส่วนน้ำหนักต่อปริมาตรอากาศ) ซึ่งมักเกิดในเวลากลางคืนหรือเช้า ในทางกลับกันค่าความเข้มข้นนี้จะสามารถลดลงได้โดยที่ปริมาณอนุภาคไม่เปลี่ยนแปลงหากเพดานการลอยตัวของอากาศสูงขึ้น ซึ่งมักเกิดขึ้นในเวลากลางวันที่มีแสงแดดส่องถึงอันเป็นต้นกำเนิดของพลังงาน การลอยตัว การประเมินปริมาณฝุ่นละอองที่มีในอากาศในพื้นที่หนึ่งๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน มักจะมีการวัดคุณสมบัติทางเคมี เช่นค่าความเข้มข้น หรืออัตราส่วน น้ำหนักต่อปริมาตร (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ส่วนการประเมินปริมาณฝุ่นละอองที่มีในบรรยากาศรวมทั้งหมดตลอดชั้นบรรยากาศ มักจะมีการวัดคุณสมบัติทางฟิสิกส์ต่างๆ เช่น Aerosol Optical Thickness (AOT) เป็นต้น