ค.ศ.

พ.ศ.

Ozone history and on-going Actions

1839

2382

ค้นพบก๊าซโอโซน โดย ดร คริสเตียน ฟรีดิช เชินไบน์ (Christain Friedrich SchÖnbein) นักเคมีชาวเยอรมัน จากการทดลองแยกน้ำด้วยไฟฟ้า คำว่า "โอโซน" เป็นภาษากรีก แปลว่า " กลิ่น" เพราะโอโซนมีกลิ่นฉุนเมื่อความเข้มข้นมาก

1860

2403

เริ่มมีการตรวจวัดโอโซนผิวพื้นกว่าร้อยสถานีทั่วโลก

1880

2423

พบว่าโอโซนในบรรยากาศเหนือขึ้นไปดูดกลืนรังสีดวงอาทิตย์ช่วง 200-300 นาโนเมตร โดยฮาร์ตเลย์(Hartley)

1913

2456

การตรวจวัดรังสีอัลตราไวโอเลต ได้พิสูจน์ว่าโอโซนส่วนใหญ่อยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ ที่ 19-23 กิโลเมตรจากพื้นโลก

1920

2463

มีการตรวจวัดปริมาณโอโซนในบรรยากาศหรือโอโซนรวมครั้งแรกโดยนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ด

1926

2469

มีการตรวจวัดปริมาณโอโซนในบรรยากาศด้วยเครื่องด็อบสันสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (Dobson Spectrophotometer ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย Gordon Miller Bourne Dobson ชาวอังกฤษ) 6 เครื่องทั่วโลก

1929

2472

มีการตรวจวัดแบบอุมเคอร์ (Umkehr) ซึ่งหาการกระจายตัวตามแนวดิ่งของโอโซนที่ชั้นต่ำกว่า 25 กม.

1930

2473

มีทฤษฎีเกี่ยวกับปฎิกิริยาเคมีจากแสง (photochemical reaction) เกี่ยวกับการเกิดและสลายตัวของโอโซนที่เกิดจากออกซิเจนบริสุทธิ์

1934

2477

จากการตรวจโอโซนซอนด์บนบอลลูนแสดงให้เห็นว่าโอโซนปรากฏอยู่มากที่สุดที่ความสูงประมาณ 20 กม.

1955

2498

มีการก่อตั้งเครือข่ายสถานีตรวจโอโซนทั่วโลก

1957

2500

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ก่อตั้งและดูแลการตรวจวัดอย่างเป็นระบบ ที่เรียกว่า GO3Os (Global Ozone Observing System) ต่อมาได้รวมกิจกรรมหลายด้านเรียก Global Atmosphere Watch

1965

2508

มีทฤษฎีปฎิกิริยาเคมีจากแสง ที่เสนอว่าการสลายตัวของโอโซนเกิดจากองค์ประกอบอนุมูลของไฮดรอกซิล (HOx)

1966

2509

มีการตรวจวัดโอโซนโดยดาวเทียมครั้งแรก

1971

2514

มีการเสนอกลไกการสลายตัวของโอโซนที่เกิดจากออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx )

1974

2517

มีการพิจารณาว่าการสลายตัวของโอโซนเกิดจากกลุ่มแอคทีฟคลอรีน (ClOx)

1974

2517

พบว่าสารสังเคราะห์ซีเอฟซี เป็นที่มาของคลอรีนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์

1975

2518

WMO เริ่มมีการประเมินโอโซนครั้งแรก

1977

2520

WMO ร่วมกับ UNEP มีแผนปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันชั้นโอโซน

1979

2522

WMO ได้สนับสนุนประเทศไทยให้มีการตรวจวัดโอโซนโดยด็อบสันสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ หมายเลข 90 ณ สถานีกรุงเทพฯ (หมายเลขสถานี 216) และเริ่มรายงานข้อมูลในศูนย์ข้อมูลโอโซนและรังสีอัลตราไวโอเลตโลก(WOUDC)

1981

2524

WMO ร่วมกับ UNEP และสถาบันวิจัยอื่นๆ ออกรายงานประเมินชั้นโอโซน เชิงวิทยาศาสตร์ "Scientific Assessments of The Ozone Layer"

1984

2527

รายงานฉบับแรกที่เสนอต่อ Ozone Commission Symposium ที่ Halkidiki  ชี้ว่าโอโซนมีค่าต่ำกว่าปกติ (ประมาณ 200 DU) ที่สถานีไซโยวา (Syowa) เหนือทวีปแอนตาร์กติกาในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1982

1985

2528

WMO/ UNEP ออกรายงานประเมินการลดลงของชั้นโอโซนเชิงวิทยาศาสตร์ 
Scientific Assessment of Ozone Depletion:  1985 WMO No. 16

1985

2525

มีอนุสัญญาเวียนนาเพื่อพิทักษ์ชั้นโอโซน (Vienna Convention for the Protection of the Ozone Layer) และรายงานเกี่ยวกับรูรั่วโอโซนตั้งแต่ทศวรรษ 1980s ตีพิมพ์โดย British Antarctic Survey

1986

2529

บทวิเคราะห์ของ Montsouris (ปารีส) เกี่ยวกับโอโซนผิวพื้นในปัจจุบันได้เพิ่มเป็น 2 เท่าของร้อยปีก่อนคือ ปี พ.ศ. 2416-2453 (1873-1910)

1987

2530

มีพิธีสารมอนทรีออลเพื่อการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน (Montreal Protocol)
มีการประเมินโอโซนโดยคณะทำงานแนวโน้มโอโซนระหว่างประเทศ

1988

2531

NASA ได้พิสูจน์พบว่ามีคลอรีนและโบรมีนที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์และเป็นสาเหตุของรูรั่วโอโซน ที่ความสูงของชั้นสตราโตสเฟียร์ตอนล่าง โอโซนลดลงอย่างต่อเนื่องประมาณ 10% ต่อสิบปี
WMO มีรายงาน "International Ozone Trends Panel Report 1988" WMO No. 18 (1988)

1989

2532

WMO มีรายงาน "Scientific Assessment of Stratospheric Ozone 1989 " WMO No. 20 (1989)

1990

2533

มีการแก้ไขพิธีสารมอนทรีออล ณ กรุงลอนดอน (London Amendment) โดยประกาศห้ามผลิตและใช้สาร CFC ภายในปี ค.ศ. 2000

1991

2534

WMO ร่วมกับ UNEP ออกรายงานประเมินการลดลงของโอโซน "WMO/UNEP Ozone Assessment of Ozone Depletion: 1991" (1991) เน้นว่าโอโซนกำลังลดลงไม่เพียงแต่ในฤดูหนาว - ใบไม้ผลิเท่านั้น แต่เกิดขึ้นตลอดปีในเขตต่างๆ ยกเว้นเขตร้อน และคลอรีนโมโนออกไซด์ (ClO) ที่พบมากเหนือทวีปอาร์กติกา เป็นสิ่งชี้ความรุนแรงของวิกฤติโอโซน

1992

2535

มีการแก้ไขพิธีสารมอนทรีออล ณ กรุงโคเปนฮาเกน (Copenhagen Amendment) ได้ขยายความในพิธีสารมอนทรีออลให้มีการหยุดใช้สาร CFCs ภายในปี 1995 และเพิ่มการควบคุมสารประกอบอื่นๆ และ UNEP มีรายงานเรื่อง " Methyl Bromide: Its Atmospheric Science, Technology and Economics (Assessment Supplement) "

1994

2537

โอโซนที่วัดได้ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เท่ากับ  92 DU ระหว่างฤดูใบไม้ผลิเหนือทวีปแอนตาร์กติกาและครอบคลุมบริเวณกว้างถึง 24 ล้านตารางกิโลเมตร ขณะเดียวกันพบว่ามีคลอรีนและโบรมีนที่ชั้นสตราโตสเฟียร์เพิ่มขึ้น WMO และ UNEP ออกรายงานประเมินการลดลงของโอโซนเชิงวิทยาศาสตร์ "Scientific Assessment of Ozone Depletion: 1994" WMO No. 37 (1994)

1995

2538

มีการลดลงของโอโซนในซีกโลกเหนือด้วย เช่น โอโซนที่เขตไซบีเรียและพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปยุโรปในเดือนมกราคมถึงเดือน มีนาคมวัดได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 25 %

1995

2538

รางวัลโนเบลสาขาเคมี มอบให้กับ Paul J. Crutzen, Mario J. Molina และ F. Sherwood Rowland จากการอธิบายว่าโอโซนได้เกิดและถูกทำลายโดยผ่านขบวนการทางเคมีในบรรยากาศ สำคัญที่สุดคือพวกเขาได้แสดงว่าชั้นโอโซนมีความเปราะบาง ต่อสารประกอบสังเคราะห์ที่ถูกปล่อยออกไป โดยกลไกทางเคมีที่มีผลกระทบต่อความหนาของชั้นโอโซน ถือว่าเป็นผู้ทำให้โลกพ้นจากปัญหาที่เป็นเหตุแห่งความหายนะต่างๆ ที่จะตามมา

1996

2539

กองทุนพหุภาคีให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและงบประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อการยกเลิกผลิตและใช้สาร CFCs ในภาคอุตสาหกรรม

1996

2539

กรมอุตุนิยมวิทยา ติดตั้งเครื่องวัดโอโซนและรังสีอัลตราไวโอเลต ระบบอัตโนมัติ Brewer spectrophotometer No. 120 ที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก สงขลา (WOUDC No. 345) และ 121 ที่สถานีกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพฯ

1997

2540

มีการแก้ไขพิธีสารมอนทรีออล ณ กรุงมอนทรีออล (Montreal Amendment) ได้เพิ่มเติมให้มีการหยุดใช้ เมธิลโบรไมด์ (CH3Br)

1998

2541

WMO/ UNEP มีรายงานประเมินโอโซนฉบับที่ 8 "Scientific Assessment of Ozone Depletion: 1998" WMO No. 44 (1998)

1999

2542

มีการแก้ไขพิธีสารมอนทรีออล ณ กรุงปักกิ่ง (Beijing Amendment) โดยได้เพิ่มการควบคุมสารโบรโมคลอโร มีเทน และไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFC)

2002

2545

WMO/ UNEP และหน่วยงานร่วม  ออกรายงานประเมินการลดลงของชั้นโอโซนเชิงวิทยาศาสตร์ "Scientific Assessment of Ozone Depletion: 2002" (2002)

2006

2549

รูรั่วโอโซน เหนือทวีปแอนตาร์กติกามีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ ประมาณ 27 ล้านตารางกิโลเมตร

WMO/ UNEP และหน่วยงานร่วม ออกรายงานประเมินการลดลงของชั้นโอโซนเชิงวิทยาศาสตร์  "Scientific Assessment of Ozone Depletion: 2006" (2006)

2010

2553

WMO/ UNEP และหน่วยงานร่วม  ออกรายงานประเมินการลดลงของชั้นโอโซนเชิงวิทยาศาสตร์ "Scientific Assessment of Ozone Depletion: 2010" (2010)

2014

2557

WMO/ UNEP และหน่วยงานร่วม  ออกรายงานประเมินการลดลงของชั้นโอโซนเชิงวิทยาศาสตร์ "Scientific Assessment of Ozone Depletion: 2014" (2014)

2016

2559

มีการแก้ไขพิธีสารมอนทรีออล ณ เมือง Kigali (Kigali Amendment) เพื่อการลดสารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs)

2018

2561

WMO/ UNEP และหน่วยงานร่วม ออกรายงานประเมินการลดลงของชั้นโอโซนเชิงวิทยาศาสตร์ "Scientific Assessment of Ozone Depletion: 2018" (2018)