UV Index |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
Application
ศักยภาพ Global UV index เดือนพฤศจิกายน
ผลกระทบ
การรับแสงแดดอ่อนๆในตอนเช้าหรือก่อนค่ำ มีคุณประโยชน์ในการสร้างวิตามินดีของผิวหนัง อย่างไรก็ตามการได้รับปริมาณมากในช่วงเวลา 9-15 น. สามารถเกิดผิวหนังเกรียมแดด (sun burn) จากการได้รับแสดงแดดติดต่อกันประมาณ 15 นาที (ระยะยาว มีผลกระทบต่อดวงตาและทำลาย DNA)
ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณรังสีอัลตราไวโอเลต
1. มุมเหนือศีรษะดวงอาทิตย์ (solar zenith angle) แสงแดดจากดวงอาทิตย์ที่ส่องผ่านมายังพื้นโลกจะลดลงโดยการถูกดูดกลืนจากก๊าซและการกระเจิงโดยอนุภาคต่างๆในบรรยากาศ มุมดวงอาทิตย์ที่อยู่ใกล้ระนาบศีรษะมากจะมีความเข้มของรังสี UV สูงขึ้น
2. ปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศ เนื่องจากโมเลกุลโอโซนจะดูดกลืนรังสี UV ดังนั้นการลดลงของโอโซนจะทำให้ความเข้มของรังสี UV เพิ่มขึ้น
3. ปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศ โดยทั่วไปแล้วการลดลงของรังสี UV ที่ผิวพื้นเกิดจากการกระเจิงและการดูดกลืนโดยฝุ่นละออง เมื่อปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศมาก ความเข้มรังสี UV จะลดลงมากกว่าที่ที่มีสภาวะอากาศสะอาด
4. ปริมาณเมฆในท้องฟ้า สามารถเพิ่มและลดรังสี UV ได้โดยกระบวนการสะท้อนและดูดกลืนตามลำดับ ระดับความเข้มของรังสี UV จะมีมากเมื่อท้องฟ้าโปร่งและจะลดลงเมื่อท้องฟ้ามีเมฆมากหรือขณะมีฝนหรือฟ้าหลัว cloudy-sky UV index
5. ความสูงจากพื้นผิวโลก ยิ่งสูงขึ้นไปบรรยากาศยิ่งบางลง การดูดกลืนรังสีดวงอาทิตย์จะมีน้อยลง โดยความสูงที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1,000 เมตร ระดับรังสี UV จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 เปอร์เซ็นต์
6. ละติจูด รังสี UV มีค่าสูงที่ละติจูดต่ำเนื่องจากมุมดวงอาทิตย์สูงกว่า
7. การสะท้อนโดยพื้นผิว รังสี UV จะถูกสะท้อนหรือกระเจิงโดยพื้นผิวที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่นหิมะใหม่สามารถสะท้อนได้มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ หาดทรายที่แห้งสะท้อนได้ 15 เปอร์เซ็นต์และฟองทะเลสะท้อนได้ 25 เปอร์เซ็นต์
References
- Sudhibrabha S, Exell RHB, Sukawat D (2006) Ultraviolet Forecasting in Thailand, ScienceAsia Vol. 32 No 2, pp. 107-114.
- Daily erythemal UV index, KNMI/TEMIS.